กิจกรรมวันที่ 22 พฤศจิกายน 2553

สืบค้นข้อมูล :  ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะของเรา ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย และดาวหาง ล้วนแล้วแต่โคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญยิ่งต่อโลก เช่น ให้พลังงานแก่พืชในรูปของแสง และพืชก็เปลี่ยนแสงให้เป็นพลังงานในการตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็น น้ำตาล ตลอดจนทำให้โลกมีสภาวะอากาศหลากหลาย เอื้อต่อการดำรงชีวิต
ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยไฮโดรเจนอยู่ร้อยละ 74 โดยมวล ฮีเลียมร้อยละ 25 โดยมวล และธาตุอื่นๆ ในปริมาณเล็กน้อย ดวงอาทิตย์จัดอยู่ในสเปกตรัม G2V ซึ่ง G2 หมายความว่าดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 5,780 เคลวิน (ประมาณ 5,515 องศาเซลเซียส หรือ 9,940 องศาฟาเรนไฮ) ดวงอาทิตย์จึงมีสีขาว แต่เห็นบนโลกเป็นสีเหลือง เนื่องจากการกระเจิงของแสง ส่วน V (เลข 5) บ่งบอกว่าดวงอาทิตย์อยู่ในลำดับหลัก ผลิตพลังงานโดยการหลอมไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม และอยู่ในสภาพสมดุล ไม่ยุบตัวหรือขยายตัว
ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากศูนย์กลางดาราจักรทางช้างเผือกเป็น ระยะทางโดยประมาณ 26,000 ปีแสง ใช้เวลาโคจรครบรอบดาราจักรประมาณ 225-250 ล้านปี มีอัตราเร็วในวงโคจร 215 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 1 ปีแสง ทุกๆ 1,400
ตอบข้อ 1. ระยะทางจากดวงอาทิตย์
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C 

สืบค้นข้อมูล : หินภูเขาไฟ ลักษณะและรูปร่างของเนื้อหิน- หินไรโอไลต์และหินแอนดีไซต์ เป็นหินที่เย็นและแข็งตัวมาจากลาวาที่มีความหนืดสูงไหลหลาก มาจากปล่องภูเขาไฟที่ระเบิดไม่รุนแรง พบรอบปล่องภูเขาไฟรูปโดม เป็นหินที่เย็นตัวอย่างช้าๆ จึงมีเนื้อแน่น ละเอียด มีดอกและสีต่างๆ
- หินบะซอลต์ เป็นหินภูเขาไฟที่เกิดจากการระเบิดแล้วไหลออกมาแข็งตัวภายนอก เนื้อหิน เย็นตัวและแข็งตัวจากลาวาที่มีไอน้ำหรือแก๊สปนอยู่ จึงมีเนื้อแน่นละเอียดและมีรูพรุน
- หินทัฟฟ์ เป็นหินภูเขาไฟที่เกิดจากการแข็งตัวของเศษหินต่างๆ ที่พ่นขึ้นมาจากปล่องภูเขาไฟ เนื่องจากการระเบิดของภูเขาไฟอย่างรุนแรง จึงมีเนื้อแน่น ประกอบด้วยเศษหินละเอียดต่างๆ
- หินออบซิเดียน เป็นหินภูเขาไฟที่เกิดจากการเย็นตัวและแข็งตัวอย่างรวดเร็วของแมกมา จึงมีลักษณะเป็นเนื้อแก้ว    ไม่มีรูปผลึก
- หินพัมมิซและหินสคอเรีย เป็นหินภูเขาไฟที่เกิดจากการเย็นตัวและแข็งตัวอย่างรวดเร็วของแมกมากลายเป็น ก้อนแก้วที่มีฟองอากาศเป็นรูพรุนอยู่ภายใน แรงระเบิดทำให้แตกออก จึงเป็นเศษหินที่มีรูพรุน คล้ายรังผึ้ง น้ำหนักเบา ลอยน้ำได้ สิ่งที่ต่างกันระหว่างหินพัมมิซและหินสคอเรีย คือ หินพัมมิซมีสีอ่อน ส่วนหินสคอเรียมีสีเข้ม
ตอบข้อ 3. อัตราการเย็นตัวของลาวา

สืบค้นข้อมูล : การเคลื่อนที่ของ แผ่นธรณีภาครอยต่อของแผ่นธรณีภาค มี 3 ลักษณะ ได้แก่
1.รอยที่เกิดจากแผ่นดินแยกออกจากกัน ได้แก่.กลางมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดเป็นร่องลึก
2.รอยที่เกิดจากการชนกันแล้วมีการมุดตัวของแผ่นมหาสมุทรลงใต้พื้นทวีป ได้แก่ทางด้านตะวันตกของ อเมริกาเกิดเป็นร่องลึก หรือชนกันแล้วยกตัวสูงขึ้นเป็นเทือกเขาเช่นเทือกเขาหิมาลัย
3.เกิดเป็นรอยแตกเฉือนกันในแนวราบ ในหลายแห่งของโลก
ตอบข้อ 3. การชนกันของแผ่นเปลือกโลก

 

สืบค้นข้อมูล : หินดินดาน (อังกฤษ: Shale) เป็นหินตะกอนเนื้อเม็ด (clastic sedimentary rock) ที่มีเนื้อละเอียดมาก มีองค์ประกอบของโคลนที่มีแร่ดิน (clay minerals) ปนกับเศษแร่ที่มีขนาดทรายแป้ง โดยเฉพาะแร่ควอร์ตซ์ และแร่แคลไซต์ โดยจะมีสัดส่วนองค์ประกอบของแร่ที่แปรเปลี่ยนไปอย่างกว้างขวาง ลักษณะเด่นของหินดินดานนี้จะมีฟิสซิลิตี (fissility) ที่เห็นเป็นแนวรอยแตกขนานไปกับชั้นบางๆที่มักมีความหนาน้อยกว่า 1 เซนติเมตร ส่วนหินโคลน (mudstone) นั้นองค์ประกอบจะคล้ายกับหินดินดานแต่จะไม่แสดงลักษณะฟิสซิลิตีตอบข้อ 4.หินดินดาน
สืบค้นข้อมูล :  ทุกทวีปในโลก เคยเป็นแผ่นดินเดียวกันนักธรณีวิทยาพบว่าเปลือกโลกมิ ได้รวมติดกันเป็นแผ่นเดียวโดยตลอด มีรอยแยกอยู่ทั่วไปซึ่งรอยแยกเหล่านี้อยู่ลึกลงไปจากผิวโลก เปลือกโลกแบ่งเป็นแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ 6 แผ่น และแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กอีกรูป แผ่นเปลือกโลก   แสดง รอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก (1 แผ่นยูเรเซีย 2 แผ่นอเมริกา 3 แผ่นแปซิฟิก 4 แผ่นออสเตรเลีย  5 แผ่นแอนตาร์กติกา  6 แผ่นแอฟริกา)
จากรูป แผ่นเปลือกโลก จะเห็นว่าเปลือกโลกประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ 6 แผ่น ดังนี้
1. แผ่นยูเรเซีย เป็นแผ่นโลกที่รองรับทวีปเอเซียและ ทวีปยุโรป และพื้นน้ำบริเวณใกล้เคียง
2. แผ่นอเมริกา แผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้และพื้นน้ำ ครึ่งซีกตะวันตกของมหาสมุทรแอนแลนติก
3. แผ่นแปซิฟิก เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับมหาสมุทรแปซิฟิก
4. แผ่นออสเตรเลีย เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปออสเตรเลีย ประเทศอินเดีย และพื้นน้ำระหว่างประเทศออสเตรเลียกับประเทศอินเดีย
5. แผ่นแอนตาร์กติกา เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอนตา ร์กติกา และพื้นน้ำโดยรอบ
6. แผ่นแอฟริกา เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอฟริกา และพื้นน้ำรอบๆ ทวีป นอกจากนี้ยังมีแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กอีกด้วย เช่น แผ่นฟิลิปปินส์ ซึ่งรองรับประเทศฟิลิปปินส์ เป็น
ตอบข้อ 2. แผ่นยูเรเซียกับแผ่นอินเดีย

สืบค้นข้อมูล :  แผ่นดินไหว เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อลดความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลกออกมา เพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถทำนายเวลา สถานที่ และความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ดังนั้นจึงควรศึกษา เรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการเกิดของแผ่นดินไหวที่แท้จริง เพื่อเป็นแนวทางในการลดความเสียหายที่เกิดขึ้น
ตอบข้อ 4.การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก


สืบค้นข้อมูล :
ตอบข้อ 3.หินชีสต์

สืบค้นข้อมูล :   ฐานธรณีภาค (อังกฤษ: Asthenosphere; มีรากศัพท์จากภาษากรีก "asthenēs" แปลว่า "ไม่แข็งแรง" และ "sphere" แปลว่า "โลก") เป็นส่วนที่มีลักษณะยืดหยุ่นตั้งอยู่ในชั้นหินหนืดตอนบนของโลกและตั้งอยู่ ใต้ชั้นธรณีภาค ฐานธรณีภาคมีขอบเขตที่ระดับความลึกระหว่าง 100 – 200 กิโลเมตรจากชั้นพื้นผิว แต่สามารถขยายตัวไปจนถึงระดับความลึก 400 กิโลเมตรฐานธรณีภาคเป็นส่วนหนึ่งของชั้นหินหนืดตอนบนและวางตัวใต้ชั้นธรณีภาค นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ความร้อนและความดันทำให้ชั้นธรณีภาคมีลักษณะหลอมและมีความหนาแน่นต่ำ คลื่นไหวสะเทือนมี ความเร็วต่ำเมื่อเคลื่อนผ่านชั้นฐานธรณีภาคเมื่อเทียบกับชั้นธรณีภาค เรียกว่า บริเวณความเร็วคลื่นต่ำและความเร็วของคลื่นไหวสะเทือนจะลดลงเมื่อความแข็ง แกร่งของชั้นนั้นๆ ลดลง ใต้แผ่นสมุทรซึ่งมีขนาดบางระดับชั้นฐานธรณีภาคจะอยู่ไม่ห่างจากระดับพื้นผิว และจะห่างไม่กี่กิโลเมตรเมื่ออยู่ในบริเวณเทือกเขากลางสมุทร
บริเวณส่วนบนของชั้นฐานธรณีภาคเป็นชั้นที่มีความแข็งและมีชั้นธรณีภาคซึ่งรวมไปถึงชั้นเปลือกโลกมีการเคลื่อนที ด้วยสภาวะที่มีความร้อนและความดันสูงทำให้หินส่วนนี้มีความยืดหยุ่นและ สามารถเคลื่อนที่ได้ตั้งแต่ไม่กี่เซนติเมตรต่อปีไปจนถึงเคลื่อนได้เป็นระยะ ทางหลายพันกิโลเมตร อย่างไรก็ตามการไหลของหินหนืดเป็นลักษณะกระแสวนและมีการแผ่รังสีความร้อนออก มาจากภายในโลก สำหรับหินที่อยู่เหนือชั้นฐานธรณีภาคจะมีความยืดหยุ่น, เปราะและแตกหักซึ่งทำให้เกิดรอยเลื่อนได้ ชั้นธรณีภาค
ซึ่งมีความแข็งกว่าจะลอยหรือเคลื่อนที่อย่าง เชื่องช้าบนชั้นฐานธรณีภาคทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของชั้นเปลือกโลก
ตอบข้อ 3.ชั้นเนื้อโลก


ในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่กำเนิดขึ้นบนโลก มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นเป็นลำดับหลัง ๆ มีการเปรียบเทียบ โดยสมมุติว่าถ้าโลกกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม… มนุษย์ก็ควรเกิดขึ้นบนโลกเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม… มนุษย์จึงมีข้อจำกัดเป็นอย่างมากในการที่จะสืบสาวเล่าเรื่องประวัติความเป็น มาอันยิ่งใหญ่ของโลกที่ตัวเองอาศัยอยู่ ทั้งนี้เพราะมนุษย์เรามีอายุเฉลี่ยอยู่บนโลกไม่เกิน 100 ปี จัดเป็นระยะเวลาที่สั้นมากเมื่อเทียบกับอายุของโลกที่เกิดขึ้นเมื่อ 4,600 ล้านปีที่ผ่านมา เมื่อเป็นเช่นนี้เราจะใช้อะไรเป็นหลักฐานเพื่อทราบเรื่องราวของโลก ดิน หิน แร่ ที่ประกอบกันเป็นภูเขา แผ่นดิน หรือท้องทะเล สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาให้มนุษย์ขบคิดมาเป็นเวลานาน เพื่อหาคำตอบให้กับประวัติความเป็นมาของโลก และแผ่นดินที่เราอาศัยอยู่ จากการศึกษาค้นคว้าเป็นลำดับจนในที่สุด นักธรณีวิทยาพบว่าในบรรดาหลักฐานทั้งหลายที่ได้ศึกษากันมานั้น ซากดึกดำบรรพ์ที่ประทับรอยไว้ในหิน เป็นหลักฐานหนึ่งที่ให้คำตอบเกี่ยวกับประวัติของโลกได้เป็นอย่างดี
“ซากดึกดำบรรพ์” เป็นร่องรอยของพืชและสัตว์ ที่ปรากฏอยู่ในหิน ส่วนมากจะพบในหินตะกอนมากกว่าหินชนิดอื่น อาจพบในหินภูเขาไฟบ้างแต่น้อยมาก ซากดึกดำบรรพ์ในหินจะบ่งถึงสภาพแวดล้อม และชนิดของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ ณ ที่นั้นในขณะเวลาที่เกิดการสะสมตะกอน
ซากดึกดำบรรพ์ของไครนอยด์ที่พบ ในหิน แอนดีไซต์ ซึ่งเป็นหินภูเขาไฟที่เขาชนโถ จังหวัดเพชรบูรณ์ ไครนอยด์เป็นสัตว์ทะเล ที่มีลักษณะคล้ายต้นไม้ ส่วนที่เห็นเป็นสีขาวในภาพ เป็นส่วนลำต้นทั้งด้านตัดตามยาว และตัดขวาง (ที่มีรูตรงกลาง) อายุประมาณ 250 ล้านปี
รายงานฉบับนี้ จึงนำเสนอเรื่องซากดึกดำบรรพ์ เพื่อแสดงถึงการเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และสูญพันธุ์ไปของสิ่งมีชีวิตในอดีต ในมุมมองที่เป็นวิทยาศาสตร์ ข้อมูลเหล่านี้นอกจากจะเป็นบทเรียนในการเรียนรู้อดีตของโลก และแผ่นดินเกิดแล้ว ยังเป็นแบบอย่างให้กับการดำรงชีวิตของมนุษย์เราในปัจจุบัน ที่จะมีชีวิตร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ และสิ่งแวดล้อมรอบตัวอย่างมีความสุข มีความรับผิดชอบต่อชีวิตในอนาคตด้วย ส่วนใครจะนำข้อมูลซากดึกดำบรรพ์เป็นอุทาหรณ์ในการดำรงชีวิตด้วยเล็งเห็นถึง การเกิดดับของชีวิต ซึ่งเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาก็เป็นสิ่งที่ควรอนุโมทนา
บทเริ่มต้นของสิ่งมีชีวิต
โลกในสมัยเริ่มแรกจะแตกต่างกับปัจจุบันอย่างมาก ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ว่างเปล่าไม่มีทั้งทะเล และมหาสมุทร มีแต่บรรยากาศที่ร้อนระอุ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์รวมทั้งแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟร์ที่เกิดจากพุน้ำร้อน และภูเขาไฟระเบิด หลังจากนั้นก็เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นบนโลกอย่างต่อเนื่อง และเริ่มมีสัญญาณของสิ่งมีชีวิต... อ่านต่อ
อายุและการแบ่งอายุของโลก
อายุของโลกหรืออายุทางธรณีวิทยา มีอยู่ 2 ชนิด คือ อายุสัมบูรณ์ การกำหนดอายุเป็นตัวเลขจากการสลายตัวของสารกัมมันตภาพรังสีที่พบอยู่ในหิน หรือในซากฯ อีกชนิดหนึ่งเป็นอายุเปรียบเทียบ คือเป็นช่วงอายุที่อ้างอิงจากซากดึกดำบรรพ์ที่พบอยู่ในหิน... อ่าน ต่อ
กระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์
การเกิดซากดึกดำบรรพ์ส่วนมากจะมีปัจจัยสำคัญสอง ประการ คือ โครงร่างส่วนที่เป็นของแข็งของสิ่งมีชีวิต กับกระบวนการเก็บรักษาซากเหล่านั้น เมื่อสิ่งมีชีวิตล้มตายลง โครงร่างส่วนที่เป็นของแข็ง เช่น กระดูก ฟัน กะโหลก กิ่งก้าน ใบไม้ และเปลือกหอย เป็นต้น ... อ่านต่อ
รูปแบบและชนิดของซากดึกดำบรรพ์
โบราณชีววิทยาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของธรณีวิทยาได้จัด แบ่งซากดึกดำบรรพ์ออกเป็นหมวดหมู่คล้ายคลึงกับชีววิทยา แต่รายงานฉบับนี้ได้จัดแบ่งชนิดของซากดึกดำบรรพ์ออกเป็นกลุ่มใหญ่ ตามรูปแบบของซากที่ได้สำรวจพบในประเทศไทย โดยจะไม่ลงรายละเอียดในการจำแนกชื่อตระกูล... อ่านต่อ
ประโยชน์ของซากดึกดำบรรพ์
ซากดึกดำบรรพ์ที่ได้จากการสำรวจ มีประโยชน์ในหลายๆ ด้าน ทั้งในส่วนที่เป็นวิชาการ เศรษฐกิจ ตลอดจนการนำมาประยุกต์ใช้กับปัญหาอันหลากหลายที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ความสำคัญของซากดึกดำบรรพ์จึงมีมากกว่าการเป็นสิ่งมหัศจรรย์สำหรับเก็บไว้ โชว์หรือแสดงในพิพิธภัณฑ์
ซากดึกดำบรรพ์แสดงถึงความเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้า ทางวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตตามลำดับอายุของโลก ซึ่งทำให้เราทราบถึงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อมในอดีตโดยการ ลำดับชั้นหินที่มีอยู่ในพื้นที่นั้น
นอกจากนั้นซากดึกดำบรรพ์ยังทำให้เรียนรู้ ถึงกฎเกณฑ์การดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด (species) ทำให้สามารถที่จะส่งเสริม ปรับปรุง แก้ไขความรู้และทฤษฎีตลอดจนการทำความเข้าใจด้านวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตกับ สิ่งแวดล้อมทั้งที่สูญพันธุ์ไปแล้ว และที่ยังดำรงพันธุ์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ซากดึกดำบรรพ์เป็นประโยชน์อย่างมากมายด้านทรัพยากร ธรรมชาติ เป็นเหมือนลายแทงในการสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน
ซากดึกดำบรรพ์เป็นประโยชน์อย่างมากต่องานวิชาการธรณีวิทยา
นอกจากจะบอกอายุของหินที่พบซากเหล่านั้นแล้วยังเป็น หลักฐาน ยืนยันถึงการแปรสัณฐานของแผ่นธรณีภาค (plate tectonic) ของประเทศที่ตัวเราอาศัยอยู่ด้วย
ประการสุดท้ายที่อยากจะชี้แนะคือการใช้ ข้อมูลซากดึกดำบรรพ์ในการประเมินปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของยุคสมัยนี้ ตามกระบวนการนำอดีตมารับใช้ปัจจุบัน
สรุปและข้อเสนอแนะ
ข้อมูลส่วนหนึ่งของซากดึกดำบรรพ์ที่ได้เสนอมาใน รายงานนี้จะเป็นเหมือนแนวทางในการสืบค้นศึกษาหารายละเอียดต่อไป สำหรับผู้ที่สนใจในวิชาการแขนงนี้ ความจริงแล้วซากดึกดำบรรพ์เป็นสิ่งที่หายาก มีซากดึกดำบรรพ์ไม่กี่ชนิดที่หาได้ง่าย และพบเป็นจำนวนมาก ซากดึกดำบรรพ์จึงควรเป็นสมบัติของชาติของแผ่นดิน ไม่ควรที่จะเก็บไว้เป็นสมบัติส่วนตัว เพราะซากเหล่านี้บอกกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของแผ่นดินที่เราอาศัยอยู่และ ซากหนึ่งชิ้นก็เป็นหนึ่งเดียวในโลก การอนุรักษ์ การเก็บรักษา จึงควรอยู่ในความดูแลของผู้รู้ที่มีจริยธรรม มีความสำนึกเล็งเห็นถึงประโยชน์ของชาติบ้านเมืองมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตน เท่านั้น รวมทั้งสถาบันและหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ก็ควรจะ ตื่นตัวและให้ความสนใจต่อเรื่องเหล่านี้มากขึ้น
เว็ปไซค์ที่เกี่ยวข้อง 1. http://www.krugoo.net/archives/390

2. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99_(%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2)

3. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3
  
4. http://www.thaigoodview.com/node/83088
5. http://armno.in.th/content/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%87

6. http://pirun.kps.ku.ac.th/~b4928013/page5.html

7. http://www.thaibizcenter.com/knowledgecenter.asp?kid=203

8. http://www.benchama.ac.th/stdweb/eclipse/thai.html

9. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C

10. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B8%81

2 ความคิดเห็น: